Pulsating Superman Logo Pointer

ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว ศรีสุดารัตน์ สว่างเกตุวิชาสังคม

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิสาหกิจชุมชน


 วิสาหกิจชุมชน คือการประกอบการโดยคนในชุมชน เพื่อการจัดการ "ทุน" ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองการพึ่งตนเอง
และความพอเพียงของครอบครัวและขชุมชน
         วิสาหกิจชุมชนแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
          (1) วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน และ
          (2) วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า
          อย่างแรกเป็นการผลิต การแปรรูป การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกินเพื่อใช้ในครอบครัวในชุมชน เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน 
อย่างที่สอบคือการดำเนินการอย่างเป็นระบบและด้วยรูปแบบที่ทันสมัย  ใช้ทุนและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองชุมชน  เครือข่าย  และตลาดในวงกว้าง


ทุุุนชุมชน 
          ทุนชุมชนมีทั้งทุนที่เป็นเงิน ทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ทุนที่เป็นผลผลิต ทุนความรู้ ภูมิปัญญา
ทักษะต่าง ๆ ประเพณี วัฒนธรรม  ทุนทางสังคม หรือความเป็นพี่เป็น้อง ความไว้ใจกันของชุมชนเครือข่าย ความสัมพันธ์
ของสมาชิกของชุมชน


องค์ประกอบของ วิสาหกิจชุมชน 
          องค์ประกอบที่สำคัญของวิสาหกิจชุมชน คือ
          1) ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
          2) ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน
          3) ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
          4) มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล
          5) มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
          6) มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ


วิสาหกิจชุมชน แตกต่างจากสิ่งที่ชุมชนทำกันมาก่อนคือ
          วิสาหกิจชุมชนเป็นเรื่องเก่าแต่คิดใหม่ จัดการใหม่ เป็นอะไรที่ทำอย่างมีแบบมีแผน มีระบบ มีขั้นตอน วิสาหกิจชุมชน
จึงต้องเริ่มจากการเรียนรู้  การประับวิธีคิด เพราะปัญหาของชุมชน เป็นปัญหาวิธีคิดมากกว่าวิธีทำ ชาวบ้านผลิตอะไรได้ดี แต่ขายไม่ออก ขาดทุน หาตลาดไม่ได้ เพราะมักเริ่มต้นจากวิธีทำ เีิริ่มจากการเรียนเทคนิค จากสูตรสำเร็จ จากการเลียนแบบ ไม่ได้ฟังที่ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเคยสอบไว้ว่า "ขึ้นต้นไม้ให้ขึ้นทางต้นอย่าขึ้นทางปลาย"


วิสาหกิจชุมชน เน้นเรื่อง...
          เน้นวิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด เพราะปัญหาที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องการผลิต ซึ่งชุมชนผลิตได้มากมาย
จนไม่รู้จะขายที่ไหน ต้องปรับวิธีคิดใหม่ถ้ายังทำอะไรแบบเดี่ยวเพื่อตลาดอย่างเดียวคล้ายกับการ "ปลูกพืชเดี่ยว" ก็จะพบปัญหาแบบ "พืชเดี่ยว" แต่ถ้าทำแบบเกษตรผสมผสานและวนเกษตรก็จะเน้นการทำวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้พอกินพอใช้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาไป สู่การจัดการเชิงธุรกิจ เมื่อพอเพียงและพึ่งตนเองได้ก็สามารถผลิตให้เหลือเผื่อตลาดได้ ถ้าเกิดขายไม่ได้ก็ไม่เสียหาย
ถ้าขายได้ก็เป็นกำไร
          ถ้าหากคิดจะนำผลผลิตออกสู่ตลาดก็อาจทำได้ แต่ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เกิดจากภูมิัปัญญา
ท้องถิ่นที่อาจเรียกได้เป็น "สูตรเด็ดเคล็ดลับ"มาจากการรู้จักใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพหรือทรัพยากร
ในท้องถิ่น บวกกับความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมให้เข้มแข็งก่อน ทำทดแทน สิ่งที่ซื้อจากตลาด
ให้ มากที่สุด และหากจะนำผลิตภัณฑ์ตัวเก่งออกสู่ตลาด ก็ควรเรียนรู้การจัดการและกลไกของตลาดให้ดี ไม่หวังพึ่งพาตลาด
เป็นหลัก แต่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองมากกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาเซียน


กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง